วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีสี




แสงสี
 แสง เป็นพลังงานรังสี ( Radiation Energy )  ที่ตารับรู้และมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยกระบวนการ วิเคราะห์แยกแยะของสมอง  ตาสามารถวิเคราะห์
พลังงานแสงโดยการรับรู้วัตถุ สัมพันธ์กับตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง ความเข้มของแสง และความยาวคลื่นที่มองเห็นได้
สี คือลักษณะความเข้มของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี  โดยผ่านกระบวนการรับรู้ด้วยตา มองจะรับข้อมูลจากตา โดยที่ตาได้ผ่านกระบวนการ
วิเคราะห์ข้อมูลพลังงานแสงมาแล้ว ผ่านประสาท สัมผัสการมองเห็น ผ่านศูนย์สับเปลี่ยนในสมองไปสู่ศูนย์การมองเห็นภาพ  การสร้างภาพ
 
หรือการมองเห็นก็คือ การที่ข้อมูลได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะให้เรารับรู้ถึงสรรพสิ่งรอบตัว
ชนิดของสี แบ่งเป็น
สีน้ำ   WATER COLOUR
สีโปสเตอร์   POSTER  COLOUR
สีชอล์ค  PASTEL
สีฝุ่น  TEMPERA
 
ดินสอสี  CRAYON
  
สีเทียน   OIL PASTEL
  
สีอะครีลิค  ACRYLIC  COLOUR
 
สีน้ำมัน  OIL  COLOUR
ความสำคัญของสี
สี คือลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ในทางวิทยาศาสตร์ให้คำจำกัดความของสีว่า เป็นคลื่นแสงหรือความเข้มของแสงที่สายตาสามารถมองเห็น
ในทางศิลปะ  สีคือ ทัศนธาตุอย่างหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลปะ และใช้ในการสร้างงานศิลปะ
โดยจะทำให้ผลงานมีความสวยงาม  ช่วยสร้างบรรยากาศ มีความสมจริง เด่นชัดและน่าสนใจมากขึ้น
      
สีเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของงานศิลปะ และเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก
 
อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ในชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสีต่าง ๆ
อย่างแยกไม่ออก โดยที่สีจะให้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น
       1
ใช้ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
       2
ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย  การจัดตกแต่งบ้าน
       3
ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี  เครื่องแบบต่าง ๆ
       4
ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
       5
ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ  สมจริงและน่าสนใจ
       6
เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์

สีกับการมองเห็น
สีต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมของสี และยังขึ้นอยู่สภาพของแสงด้วย  โดยที่
ในที่มีแสงว่างจัด ๆ  สีจะดูอ่อนลง    ในที่ที่มีแสงสว่างน้อยลง  สีก็จะเข้มขึ้นด้วย  และในที่ไม่มี
แสงสว่างเลยเราจะมองเห็นสีต่าง ๆ  เป็นสีดำ    ถึงแม้จะมีความเข้มของแสงเหมือนกัน แต่ถ้ามี
สภาพแวดล้อมของสีแตกต่างกัน เช่น สีแสดที่อยู่บนพื้นสีดำ จะดูอ่อนกว่าสีแสดที่อยู่บนพื้นสีขาว
และสีที่อยู่บนพื้นสีต่าง ๆ กันก็จะดูมีความเข้มต่างกัน  สีที่บนพื้นสีเข้มจะมองเห็นเด่นชัดกว่าสี
ที่อยู่บนพื้นสีสว่าง เนื่องจากสีดำไม่สะท้อนแสงสีต่าง ๆ ทำให้ไม่รบกวนการมองเห็น



        การมองเห็นของสีตรงข้าม    การใช้สีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกันโดยนำมาวางอยู่เคียงคู่กัน
ทั้งสองสีจะส่งผลต่อคู่สีอีกสีหนึ่ง  เราจะเห็นว่า สีเขียวที่อยู่บนสีแดงจะดูมีขนาดใหญ่กว่าสีแดง
ที่อยู่บนสีเขียว  ทั้งสองสีต่างหักล้างค่าความเข้มของสีซึ่งกันและกัน จะทำให้ไม่ดูสดใสเท่าที่ควร
ปรากฎการณ์อีกอย่างหนึ่งของสีตรงข้าม   คือ  ภาพติดตา ( After Image )โดยการจ้องมองสีใด
สีหนึ่งที่สดจัด ในที่มีแสงสว่างจ้าสักครู่ จากนั้นไปจ้องมองที่กระดาษสีขาว  จะปรากฎสีตรงข้าม
ของสีนั้น ๆ ขึ้นที่กระดาษสีขาวซึ่งเกิดจากอิทธิพลความแรงของสี


             ภาพติดตาอีกลักษณะหนึ่ง ก็คือสีขาวกับสีดำ  จากภาพเส้นตารางสีขาว  บนพื้นสีดำ จะมอง
เห็นจุดตัดแนวตั้งกับแนวนอน ของเส้นตารางสีขาว มีสีเทา ๆ  ลักษณะเช่นนี้เกิดจากอิทธิพลของสี
ตรงข้ามที่อยู่ข้างเคียงคือสีดำ  และรูปสีขาวบนพื้นดำ จะดูใหญ่กว่ารูปสีดำที่อยู่พื้นขาว
 


แม่สี
แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม
 
แม่สี มือยู่  ชนิด คือ
    1.
แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดง
 
สีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี  ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี
 
คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสี
 
ในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น (ดูเรื่อง แสงสี )
    2.
แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวน
 
ทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้
 
งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ  วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
    
แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสี
 
ธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน
 
วงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


คุณลักษณะของสี
  คุณลักษณะของสี เป็นการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเกิดความสวยงาม
 
และความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง คุณลักษณะของสีที่ใช้
 
โดยทั่วไป มีดังนี้ คือ
สีเอกรงค์  (Monochrome) เป็นการใช้สีเพียงสีเดียว แต่มีหลาย ๆ น้ำหนัก ซึ่งไล่เรียงจากน้ำหนักอ่อนไปแก่ เป็นการใช้สีแบบดั้งเดิม ภาพ จิตรกรรมไทย แบบดั้งเดิมจะเป็นลักษณะนี้ ต่อมาเมื่อมีการใช้สีอื่น ๆ  เข้ามาประกอบมากขึ้น ทำให้มีหลายสี ซึ่งเรียกว่า "พหุรงค์" ภาพแบบสี เอกรงค์ มักดูเรียบ ๆ ไม่ค่อยน่าสนใจ
วรรณะของสี  (Tone) สีมีอยู่ 2 วรรณะ คือ วรรณะสีร้อน และ สีเย็น สีร้อนคือสีที่ดูแล้วให้ความรู้สึกร้อน สีเย็นคือสีที่ดูแล้วรู้สึกเย็น ซึ่งอยู่ในวงจรสี สีม่วงกับสีเหลืองเป็นได้ทั้งสีร้อนและสีเย็น แล้วแต่ว่าจะอยู่กับกลุ่ม สีใด การใช้สีในวรรณะเดียวกันจะทำให้เกิดรู้สึกกลมกลืนกัน การใช้สีต่างวรรณะจะทำให้เกิดความแตกต่าง ขัดแย้ง การเลือกใช้สีในวรรณะใด ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการ และจุดมุ่งหมายของงาน
ค่าน้ำหนักของสี  (Value of colour) เป็นการใช้สีโดยให้มีค่าน้ำหนักในระดับต่าง ๆ กัน และมีสีหลาย ๆ สี ซึ่งถ้าเป็นสีเดียว ก็จะมีลักษณะเป็น สีเอกรงค์ การใช้ค่าน้ำหนักของสี จะทำให้เกิดความกลมกลืน เกิดระยะ
 
ใกล้ไกล ตื้นลึก ถ้ามีค่าน้ำหนักหลาย ๆ ระดับ สีก็จะกลมกลืนกันมากขึ้น แต่ถ้ามีเพียง1 - 2 ระดับที่ห่างกัน จะทำให้เกิดความแตกต่าง
ความเข้มของสี  (Intensity)เกิดจาก สีแท้ คือสีที่เกิดจากการผสมกันนวงจรสี เป็นสีหลักที่ผสมขึ้นตามกกฎเกณฑ์และไม่ถูกผสมด้วยสีกลาง หรือสีอื่น ๆ จะมีค่าความเข้มสูงสุด หรือแรงจัดที่สุด เป็นค่าความแท้ของสีที่ไม่ถูกเจือปน เมื่อสีเหล่านี้ อยู่ท่ามกลางสีอื่น ๆ ที่ถูกผสมให้เข้มขึ้น หรืออ่อนลง ให้มืด หม่น หรือเปลี่ยนค่าไปแล้ว สีแท้จะแสดงความแรงของสีปรากฎออกมาให้เห็น อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงานลักษณะเช่นนี้ เหมือนกับ ดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูสด ๆ หรือบานเย็น ที่อยู่ท่ามกลางใบเฟื่องฟ้าที่เขียวจัด ๆ หรือ พลุที่ถูกจุดส่องสว่างในยามเทศกาล ตัดกับสีมืด ๆ ทึบ ๆ ทึมๆ ของท้องผ้ายามค่ำคืน เป็นต้น
สีส่วนรวม (Tonality) เป็นลักษณะที่มีสีใดสีหนึ่ง หรือกลุ่มสีชุดหนึ่งที่ใกล้ เคียงกัน มีอิทธิพลครอบคลุม สีอื่น ๆ ที่อยู่ในภาพ เช่น ในทุ่งดอกทานตะวันที่กำลังออกดอกชูช่อบานสะพรั่ง สีส่วนรวมก็คือ สีของดอกทานตะวัน หรือ
บรรยากาศการแข่งขันฟุตบอลในสนาม ถึงแม้ผู้เล่นทั้งสองทีมจะแต่งกาย ด้วยเสื้อผ้า หลากสีต่างกันก็ตาม แต่ สีเขียวของสนามก็จะมีอิทธิพลครอบ คลุม สีต่าง ๆ ทั้งหมด สีใดก็ตามที่มีลักษณะเช่นนี้  เป็นสีส่วนรวมของ